โสม เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่นิยมใช้และยอมรับนับถือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ ชาวจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยถือกันมานาน กว่า 5,000 ปีว่าเป็นยาวิเศษอันทรงคุณค่ายิ่ง ต่อมาการนิยมใช้โสม ได้แพร่หลายไปยังส่วนต่างๆของโลก และในปัจจุบันมีการเพาะปลูก โสมกันทั่วไปทั้งในประเทศ จีน ญี่ปุ่นเกาหลี รัสเซีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา อย่างไรก็ตามโสมมีอยู่ด้วยกันหลายพันธ์ แต่ละพันธ์จะมีสรรพคุณ แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศและท้องถิ่นที่ทำการเพาะปลูก โสมพันธุ์ดีที่สุดนั้นมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Panax ginseng C.A. Mayer เป็นพืชในตระกูล Araliaceae ซึ่งเป็นโสมพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากในประเทศจีน และเกาหลี คำว่า Panax มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกแปลว่า "รักษาได้สารพัดโรค"
ผลของโสมต่อร่างกาย
1.เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย: คุณสมบัติต่อต้านความเมื่อยล้า Antifatigue effect ของโสม ทำให้ร่างกายมีการปลดปล่อยพลังงานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะทำงานหรือออกกำลังกาย สารพลังงาน ATP และ Glycogen ที่มีอยู่ใน กล้ามเนื้อจะถูกใช้หมด |
2. ต้านความเครียด: ผลกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้ผู้คนมีอาการผิดปกติในลักษณะต่างๆ ที่ตรวจสอบหาสาเหตุได่ยาก เป็นต้นว่าอาการทางหัวใจ ปวดศรีษะ นอนหลับไม่สนิท ปัญหาการย่อยอาหารตลอดจน |
ปัญหา
ข้อข้องใจในการปฏิบัติภาระกิจประจำวัน
ที่ล้วนก่อให้เกิดความเครียดซึ่งส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจหากทิ้งไว้
เป็นวลานาน อาจทำให้กลายเป็นอาการของโรคและอาการผิดปกติที่รุนแรงขึ้น สารสกัดจากโสมมีคุณสมบัติต้านความเครียด Antistress Effect โดยช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้สามารถอดทนต่อความเครียดได้ในระดับหนึ่ง โดยฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองจะเป็นตัวควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนต่อมหมวกใต ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันและต่อต้านความเครียด โดยเร่งกระบวนการเมตาบอลิสม Metabolism ต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานและสารออกมาต้านความเครียดได้ |
3. ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง: Ginsenosides Rg1 จากโสมหรือในสารสกัดโสมมีคุณสมบัติกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว แต่จะเป็นการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยากระตุ้นประสาทจำพวก Amphetamine หรือ Cocaine จึงไม่ทำให้กระทบกระเทือน ต่อการนานหลับตามปกติ ส่วน Ginsenosides Rb และ Rc จะออกฤทธิเกี่ยวกับการระงับประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด สารสกัดจากโสมจึงมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเป็นทั้งตัวช่วยให้ประสาทตื่นตัวและระงับผ่อนคลายประสาท ทั้งนี้การออกฤทธิ์กระตุ้นหรือระงับนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพและความต้องการของ ร่างกาย |
4. ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ: เชื่อกันว่าโสมมีฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยค้นความด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ พิสูจน์ว่าโสมไม่ได้มีฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศ หากการบำรุงด้วยโสม ทำให้สมรรถภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง จึงส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศมีความสมบูรณ์ขึ้นไปด้วย |
5. ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง: จากากรทดสอบเชิงคลีนิก มีผลชี้ว่า สารสกัดจากโสมอาจทำให้ตับอ่อนหลั่ง อินซูลินออกมา ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดอาการชาตามนิ้วมือและปลายเท้า การเกิดแผลเน่าเปื่อย นอกจากนี้ Ginsenosides Rb1 และ Re ยังมีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน จึงอาจช่วยลดขนาดการใช้อินซูลินในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานได้ |
6.เพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย: ผล การทดลองทางคลีนิกพบว่าสารสกัดโสมสามารถช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูง ขึ้น นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพได้ทำการตรวจวิเคราะห์ปฏิกริยาตอบสนองของเม็ด เลือดขาวชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ |
|
พีจีสล็อต
ตอบลบพีจีสล็อต
พีจีสล็อต